TH  |  EN

โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริฯ

โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนินเยือน “สำนักงานบริหารกิจการทางทะเล” State Oceanic Administration) ณ กรุงปักกิ่งและ “สถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน” (Polar Research Institute of China) ณ นครเซี่ยงไฮ้สาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 8 และ 11 เมษายน พ.ศ.2556 ตามลำดับเพื่อทอดพระเนตรการดำเนินงานและการปฏิบัติงานวิจัยเกี่ยวกับขั้วโลกพระองค์ทรงสนทนาเป็นภาษาจีนกับนักวิจัยจีนซึ่งทำงานที่สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ทวีปแอนตาร์กติก ขณะนั้นผ่านทางระบบการประชุมทางไกลและทอดพระเนตรเรือตัดน้ำแข็ง“R/V Xuelong ” (Snow Dragon) ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกนับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในเรื่องการวิจัยขั้วโลก สวทช. มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ Memoradum of Understaning) กับสำนักบริหารอาร์กติกและแอนตาร์กติก (Chinese Arcticand Antarctic Administration : CAA)สังกัดสำนักงานบริหารกิจการทางทะเลเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2556 สวทช. ร่วมกับคณะทำงานโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ ฯ พิจารณาคัดเลือกนักวิจัยไทยและทูลเกล้า ฯ ถวายรายชื่อเพื่อขอพระราชทานพระราชวินิจฉัยจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี … Read more

โครงการความร่วมมือไทย – สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ตามพระราชดำริฯ

โครงการความร่วมมือไทย – สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำริให้ศึกษาแนวทางความร่วมมือ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ โดยขยายความสัมพันธ์ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยที่ยังมีความขาดแคลนอยู่ หน่วยงานร่วมดำเนินการ สำนักงาน ก.พ. ได้สนองพระราชดำริเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศทั้งสองโดยจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือฯ ดังกล่าวระหว่างสำนักงานก.พ.และ Graduate University of the Chinese Academy of Sciences (GUCAS) (ในปี พ.ศ. 2552 กูแคสได้เปลี่ยนชื่อเป็นยูแคส (UCAS : University of Chinese Academy of Sciences)) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเยือน University of Chinese Academy of Sciences (UCAS) ครั้งแรกในปี พ.ศ.2548 และทรงประทับเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ (MoU) ระหว่างสำนักงาน ก.พ. และ UCAS … Read more

โครงการความร่วมมือไทย – KATRIN และ KIT

โครงการความร่วมมือไทย – KATRIN และ KIT   ความเป็นมา     KATRIN (KArlsruhe TRItium Neutrino experiment) เป็นการปฏิบัติการทดลองเพื่อวัดมวลของอิเล็กตรอนแอนตินิว ทริโน (electron antineutrino) ที่ปลดปล่อยออกมาจากการสลายตัวแบบบีตาของทริเทียมด้วยความแม่นยำที่ระดับต่ำกว่าอิเล็กตรอนโวลต์ (sub-eV) ตั้งอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีคาร์ลสรู (Karlsruhe Institute of Technology) เมืองคาร์ลสรู สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ช่างเทคนิค และนักศึกษามากกว่า ๑๕๐ คนจาก ๑๒ สถาบันใน ๕ ประเทศ ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหราชอาณาจักรรัสเซีย สาธารณรัฐเช็ก สาธารณรัฐฝรั่งเศส และ สหรัฐอเมริกา อุปกรณ์สำคัญคือ สเปกโทรมิเตอร์ หนัก ๒๐๐ ตัน ติดตั้งและผ่านการทดสอบจนสมบูรณ์เมื่อ ค.ศ. ๒๐๑๕ การทดลองเริ่มเมื่อปลายปี ค.ศ. ๒๐๑๖ … Read more

โครงการความร่วมมือไทย – เดซี ตามพระราชดำริฯ

โครงการความร่วมมือไทย – สิงคโปร์เรื่องนาฬิกาอะตอมเพื่อพัฒนากำลังคนและการวิจัยพัฒนาตามพระราชดำริฯ ความเป็นมา     สถาบันเดซี (DESY: Deutsches Elektronen-Synchrotron หรือ “German Electron Synchrotron”) ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2502 มีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองฮัมบูร์ก (Hamburg) และเมืองซอยเธน (Zeuthen) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สถาบันเดซีเป็นหนึ่งในบรรดาห้องปฏิบัติการชั้นนำของโลกด้านฟิสิกส์ของอนุภาคมูลฐานและงานวิจัยที่ใช้แสงซินโครตรอน มีบุคลากรราว 2,000 คน เป็นนักวิทยาศาสตร์ราว 600 คน งบประมาณปีละ 192 ล้านยูโร (ราว 7,067 ล้านบาท) ซึ่งเป็นงบประมาณ 170 ล้านยูโร (ราว 6,400 ล้านบาท) สำหรับฮัมบูร์ก และ 19 ล้านยูโร (ราว 700 ล้านบาท) สำหรับซอยเธน โดยงบประมาณได้รับจากกระทรวงศึกษาธิการและวิจัยของรัฐบาลกลางเป็นสำคัญ … Read more

โครงการความสัมพันธ์ไทย – เซิร์นตามพระราชดำริฯ

โครงการความสัมพันธ์ไทย – เซิร์นตามพระราชดำริฯ     เซิร์น เป็นชื่อย่อที่มาจากอักษรตัวแรกของชื่อเต็มที่เป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire (CERN) หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า European Council for Nuclear Research แปลเป็นไทยว่า ที่ประชุมแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ โดยในปี พ.ศ. 2492 ลูอิส เดอ บรอยล์ (Louis de Broglie) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสได้เสนอแนวความคิดริเริ่มของการก่อตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยแห่งยุโรป และในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการลงนามร่วมกันจัดตั้งอย่างเป็นทางการโดย 11 ประเทศในยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นองค์กรระหว่างประเทศในยุโรปเพื่อการวิจัยฟิสิกส์พื้นฐานระดับโลก เซิร์นตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณชายแดนระหว่าง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส ต่อมาในวันที่ 29 กันยายน 2497 ได้จัดตั้งเป็นองค์กรแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ หรือ European Organization for Nuclear Research โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 12 … Read more

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University : XJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ. ๒๐๒๓) ระดับปริญญาโท หลักสูตรภาษาอังกฤษ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University : XJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ. ๒๐๒๓) ระดับปริญญาโท หลักสูตรภาษาอังกฤษ ตามที่มีประกาศมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University : XJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ. ๒๐๒๓) ระดับปริญญาโท หลักสูตรภาษาอังกฤษ และประกาศมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม ราชกุมารี ลงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ เรื่อง ขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University : XJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีน … Read more

โครงการความร่วมมือไทย – GSI/FAIR ตามพระราชดำริฯ

ความเป็นมา      สถาบันวิจัยไอออนหนักเฮล์มโฮลทซ์จีเอสไอ (GSI Helmholtz Center for Heavy Ion Research) เป็นหน่วยงานที่ได้รับ การสนับสนุนจากทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อวิจัยด้านไอออนหนัก ตั้งอยู่ทางตอนหนือของเมืองดาร์มสตัดท์ ประเทศ เยอรมนี ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1969 เป็นสมาคมวิจัยไอออนหนัก (Society for Heavy Ion Research) เรียกย่อๆ ว่า GSI เพื่อวิจัยด้าน เครื่องเร่งอนุภาคไอออนหนักซึ่งนับเป็นศูนย์วิจัยสำคัญในรัฐเฮ็สเซ่น (Hessen) ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน ในฐานะสมาชิกของเฮล์มโฮลทซ์ งานวิจัยของสถาบันฯ มีทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐานและฟิสิกส์ประยุกต์ งานวิจัยที่สำคัญเป็นงานวิจัยในสาขาฟิสิกส์พลาสมา ฟิสิกส์ของอะตอมโครงสร้างนิวเคลียสและปฏิกิริยาของนิวเคลียส ฟิสิกส์ชีวภาพและการแพทย์ เป็นต้น ผู้ถือหุ้นของสถาบันฯ ได้แก่ รัฐบาลกลาง (ร้อยละ 90) ที่เหลือเป็นของรัฐเฮ็สเซ่น (ร้อยละ 8) ทูรินเจีย (Thuringia) (ร้อยละ 1) และไรน์แลนด์-พาลาทิเนต (Rhineland-Palatinate) (ร้อยละ 1) … Read more

กิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)”

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดกิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)” ในวันที่ 29 กันยายน 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุน ให้ความรู้เพิ่มเติมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำโครงงานจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านอาหารและครูที่ปรึกษาโครงงาน ประจำปี ๒๕๖๕ ในโครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้ารวมกิจกรรม 86 คน (ครู 24 คน , นักเรียน 62 คน)

กิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)”

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดกิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)” ในวันที่ 29 กันยายน 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุน ให้ความรู้เพิ่มเติมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำโครงงานจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านอาหารและครูที่ปรึกษาโครงงาน ประจำปี ๒๕๖๕ ในโครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้ารวมกิจกรรม 86 คน (ครู 24 คน , นักเรียน 62 คน)

ex.โครงการความร่วมมือกับจูลิช (Jülich) ตามพระราชดำริฯ

ศูนย์วิจัยจูลิช (Jülich Research Center) เป็นสมาชิกของสมาคมเฮ็ล์มโฮล์ท (Helmholtz Association) ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและเป็นศูนย์วิจัยหลากสาขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ก่อตั้งเมื่อ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1956 โดยมลรัฐไรน์-เวสต์ฟาเลียเหนือ (North Rhine-Westphalia) ก่อนที่จะกลายไปเป็นศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ในปี ค.ศ. 1967 มีงานวิจัย 4 สาขาได้แก่ สุขภาพ สารสนเทศ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน งบประมาณประจำปีราว 705 ล้านยูโร (ค.ศ. 2018) งบประมาณจากรัฐแบ่งออกเป็น ร้อยละ 90 จากรัฐบาลกลาง และ ร้อยละ 10 จากมลรัฐไรน์-เวสต์ฟาเลียเหนือมีบุคลากรมากกว่า 6,000 คน (ค.ศ. 2018) อ่านต่อ