TH  |  EN

ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) กับ GSI /FAIR

     PANDA (antiProton ANnihilations at DArmstadt) สร้างขึ้นเพื่อให้แอนติโปรตอนชนกับเป้าอยู่กับที่ (ได้แก่ โปรตอนในเบื้องต้นและธาตุอื่นในอนาคต) ทำให้เกิดจากการชนนี้ สถานีแพนดาจากหน่วยตรวจวัด ช่วยจำแนกชนิดและพลังงานของอนุภาคที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับแรงอ่อน แรงเข้ม สถานะแปลกใหม่ (exotic states) ของสสารและโครงสร้างฮาดร็อน ความร่วมมือแพนดาประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ 500 คน จาก 20 ประเทศที่จะรวมกันดำเนินการวิจัยข้างต้น การผลิตลำแอนติโปรตอนนั้นเริ่มจากการผลิตโปรตอนด้วยเครื่องเร่งโปรตอนเชิงเส้น p-LINAC จนได้พลังงานประมาณ 70 MeV แล้วจึงส่งไปเร่งเพิ่มขึ้นโดยเครื่องซินโครตรอน SIS18 และ SIS100 จากนั้นโปรตอนจะถูกส่งชนเป้า (ซึ่งประกอบด้วยธาตุนิเกิลและทองแดง) เพื่อผลิตแอนติโปรตอน ซึ่งแอนติโปรตอนที่เกิดขึ้นจะมีโมเมนตัมสูงสุดถึง 15 GeV/c ถูกส่งไปยังวงแหวนกักเก็บ HESR (High Energy Storage Ring)และ CR เพื่อนำไปใช้งานต่อไป ที่ด้านหนึ่งของวงแหวาน HESR จะมีสถานีทดลอง PANDA (antiProton ANnihilations at DArmstadt) PANDA@THAILAND (https://panda.gsi.de/article/panda-thailand)

  

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2062 ที่การประชุม PANDA Collaboration จ.กระบี่ ได้มีการลงนาม Expression of Interest (EoI) ระหว่าง PANDA กับ ม.สุรนารี สซ. และม.เชียงใหม่ เพื่อร่วมมือกันในการ (1) ออกแบบและสร้างเมคานิกส์ของหน่วยตรวจวัด Forward Trackers และ (2) ออกแบบและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ควบคุมหน่วยตรวจวัด Forward Trackers และ (3) พัฒนาระบบเลือกอนุภาคเกิดใหม่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ของการเรียนรู้ด้วยเครื่อง โดย Prof. Klaus Peters ซึ่งเป็น PANDA spokesperson ได้เดินทางมาลงนามกับฝ่ายไทยซึ่งมี ดร.ชิโนรัตน์ กอบเดช (ม.สุรนารี) ดร.กีรติ มานะสถิตพงศ์ (สซ.) และ ดร.สาคร ริมแจ่ม (ม.เชียงใหม่) เป็นผู้แทนฝ่ายไทย

    ความร่วมมือระหว่าง สซ. กับ GSI /FAIR : การร่วมออกแบบและพัฒนาระบบตรวจวัดไปข้างหน้า โครงการ 1 : ระบบควบคุม FT DCS

การประชุมปรึกษาหารือมีนาคม พ.ศ. 2562 จ.กระบี่ ประเทศไทย

นักวิจัยจะใช้ชุดซอฟต์แวร์ EPICS (Experiment Physics and Industrial Control System) ที่แพร่หลายในสถาบันวิจัยเครื่องเร่งอนุภาคทั่วโลก ซึ่งมีเครื่องมือสำหรับสร้างระบบควบคุม เช่น ไดรเวอร์สำหรับควบคุมอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ส่วนติดต่อผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ส่งสัญญาณเตือน (alarm) ซอฟต์แวร์บันทึกข้อมูลอุปกรณ์ (archiver) โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่ทั้งหมด สามารถติดตั้งบนคอมพิวเตอร์หลากหลายแพลทฟอร์ม เช่น ไมโครซอฟท์วินโดว์ ลินุกซ์ ยูนิกซ์ หรือแมคอินทอช (ทั้งแบบ PC, Laptop) บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ตามความต้องการของผู้ใช้

     โครงการ 2 : โครงสร้างเชิงกลของชุดทดแทน Tracking Module สำหรับForward Spectroscopy (โครงสร้างเชิงกล Mech.Struc.)

การประชุมปรึกษาหารือมกราคม พ.ศ. 2562 ดาร์มสตัด เยอรมันนี

ในระยะแรกสถานีวิจัย PANDA ไม่สามารถสร้าง FT5 และ FT6 ได้ทัน (FT หมายถึง Forward Trackers มีทั้งหมดตั้งแต่ FT5 และ FT6) ประจวบกับ CERN ต้องการอัพเกรด Outer Tracker และจะรื้อถอนชุดเก่าออกไปสถานีวิจัย PANDA เห็นว่า Outer Tracker ที่ถูกรื้อถอนสามารถนำมาใช้เป็น FT5 และ FT6 ได้ อย่างไรก็ดี Outer Tracker ของ CERN มีขนาดใหญ่กว่า Forward Tracker ที่ PANDA ต้องการ สถานีวิจัย PANDA จึงจำเป็นต้องสร้างอุปกรณ์ยึดจับสำหรับ Outer Tracker ขึ้นใหม่ จึงเป็นที่มาของโครงการ Mech.Struc. ขณะนี้ Outer Tracker จาก CERN ได้ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่ GSI แล้ว