โครงการสนับสนุนและส่งเสริม

เมื่อ : วันที่ 9 พ.ค. 2561
สถานที่ : บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
จัดโดย : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โดยสถาบันเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ (ITDE)


        ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โดยสถาบันเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ (ITDE) จัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุภายในประเทศ รอบแรก ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 เพื่อเฟ้นหาผลงานที่ดีที่สุดไปแข่งขันต่อในระดับนานาชาติในงาน i-CREATe 2018 ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน

โดยมีทีมที่เข้ารอบทั้งหมด 21 ทีมดังนี้
1. Braille keyboard application for android operation จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
2. Develop Thai Braille’s translator program and Develop Braille’s font in Thai and English language จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
3. IHearYou application จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4. SoundSense จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
5. D’Guardian: A smart monitoring system for elderly and disabilities จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
6. InSitE - The UWB-Based Indoor Location Tracking System for Institutional Elder Care จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
7. Object tracking for elders and Alzheimer’s patient จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
8. Mental Well Being (Sodsai) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
9. Read the Label Medicine จากวิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม
10. “WRISTHOPE” the wristband that help elderly don’t forget to take the medicine จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
11. Racing game for the rehabilitation of the hands muscles of Stroke patients using Stress Ball จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
12. SueSan: A Game-based Tool for Enhancing Autism Children’s Communication Skill in Thailand จากมหาวิทยาลัยมหิดล
13. Physical Therapy Equipment for patient who’s muscle weakness and Bedridden patients จากโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์
14. AUTOMATIC WALKER FOR THE ELDERLY USING BY MICROCONTROLLER จากวิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็น
15. Device for improving movement’s efficiency of elder (iME2) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
16. Eliptical Trike จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
17. EMG-FES cycling system for Spinal Cord Injury patients จากมหาวิทยาลัยมหิดล
18. EZStand Walker จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19. Tiny Urban Vehicle : TU-V จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20. The Design and Construction of Surrounding Control System for The Rehabilitative Walker Using Mecanum Wheel จากมหาวิทยาลัยรังสิต
21. เกมช่วยในการเรียนรู้หลายภาษา จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

          ซึ่งรอบต่อไปจะเป็นการนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ จะจัดขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

          ภายในงานมีผลงานที่น่าสนใจ เช่น ผลงาน Brain Speller จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำเครื่องช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตด้วยการใช้คลื่นสมองช่วยสะกดคำเพื่อสื่อสารกับผู้ดูแล

ทีม InSitE - The UWB-Based Indoor Location Tracking System for Institutional Elder Care จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทำเรื่องการติดตามผู้สูงอายุภายในอาคาร ถ้าหากผู้สูงอายุลื่นล้มจะมีการแจ้งเตือนผู้ดูแลผ่านแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ โดยสามารถบันทึกกิจกรรมในแต่ละวันของผู้สูงอายุได้อีกด้วย

{gallery}it-disableds/student-inovation-challenge-11th/1{/gallery}

ผลงาน Read the Label Medicine จากวิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม ทำเครื่องอ่านยาด้วยการติดชิพที่ซองยาและเมื่อนำซองมาวางบนเครื่อง เครื่องจะอ่านให้ผู้สูงอายุฟังว่าเป็นยาอะไร ต้องกินเวลาใด

{gallery}it-disableds/student-inovation-challenge-11th/2{/gallery}

ผลงาน “WRISTHOPE” the wristband that help elderly don’t forget to take the medicine จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำริสแบนด์ใส่ยาช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ชอบลืมทานยาและลดความลำบากในการหยิบยาในกระเป๋า อีกทั้งสามารถใส่เพื่อความสวยงามได้อีกด้วย

{gallery}it-disableds/student-inovation-challenge-11th/3{/gallery}

ผลงาน Physical Therapy Equipment for patient who’s muscle weakness and Bedridden patients จากโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ ทำเครื่องกายภาพบำบัดแบบพกพา สามารถบริหารหัวไหล่ ข้อมือ แขน ขา อีกทั้งสามารถถอดอุปกรณ์เก็บใส่กระเป๋าได้อีกด้วย

{gallery}it-disableds/student-inovation-challenge-11th/4{/gallery}

ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรม : เทคโนโลยีทันตกรรมแห่งอนาคต Digital Dentistry: The Future is Now

9 มีนาคม 2561 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2561 (NSTDA Annual Conference 2018: NAC2018) โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส สวทช. และคณะผู้บริหาร เฝ้ารับเสด็จฯ

ในช่วงเช้า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศการแสดงผลงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งคณะนักวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรม สวทช. และพันธมิตร ได้จัดแสดงผลงานและความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry) มาช่วยบูรณะสุขภาวะของช่องปากจากการสูญเสียฟัน ในโครงการคืนความสุขในการบดเคี้ยวในผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุและคนพิการ ด้วยเทคโนโลยีทางด้านทันตกรรม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ในช่วงบ่ายได้มีการจัดบรรยายพิเศษ และเสวนาในเรื่อง "ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรม : เทคโนโลยีทันตกรรมแห่งอนาคต (Digital Dentistry: The Future is Now)" โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส สวทช. เป็นผู้กล่าวเปิดงาน มีหัวข้อการบรรยายพิเศษ เรื่อง "นวัตกรรม Digital Dentistry ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทย" โดย ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป นักวิจัยอาวุโส สวทช. และ "การประยุกต์ใช้นวัตกรรม Digital Dentistry ทางคลินิก" โดย รศ.ดร.ทพ.ปฐวี คงขุนเทียน ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางทันตกรรมรากเทียม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นอกจากนี้ยังมีการเสวนาที่น่าสนใจในหัวข้อ "ประสบการณ์การใช้เครื่อง DentiiScan และนวัตกรรม Digital Dentistry" โดย ทพ.วีระพันธ์ อุ่นเมืองทอง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทพญ.จริยา บุญราศี โรงพยาบาลแพร่ ทพญ.วรางค์รัตน์ เศวตศิลป์ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ทพญ.แอนจิรา ถานะวุฒิพงค์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ทพ.พรชัย ไตรยราช โรงพยาบาลสกลนคร ทพ.สรพล ติยะพงษ์ประพันธ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ทพ.วีลาภ ครองลาภเจริญ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว ดำเนินการเสวนาโดย ดร. กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป นักวิจัยอาวุโส สวทช.

ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรม (Digital Dentistry) มาช่วยบูรณะสุขภาวะของช่องปากจากการสูญเสียฟัน สำหรับการบดเคี้ยวในผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุและคนพิการ ด้วยเทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะหน่วยงานวิจัยได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติ ทางทันตกรรม หรือ DentiiScan 2.0 (เดนตีสแกนรุ่น 2.0) ขึ้นและติดตั้งให้บริการตั้งแต่ปี 2559 ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมและผลักดันการวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ของไทยให้มีความเข้มแข็ง ปัจจุบันมีการติดตั้งเครื่อง DentiiScan 2.0 ใช้งานในโรงพยาบาลต่างๆ จำนวน 7 แห่ง อีกทั้งเครื่องดังกล่าวได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์ ISO 13485 เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพของเครื่องให้สามารถแข่งขันกับเครื่องจากต่างประเทศได้

สวทช. ร่วมกับทีมทันตแพทย์ด้านทันตกรรมรากฟันเทียม ในการนำข้อมูลสามมิติที่ได้จากเครื่อง DentiiScan มาช่วยในการวางแผนและการฝังรากฟันเทียม (Dental Implant) ตลอดจนการใส่ฟันปลอมเซรามิกส์ชนิดยึดติดแน่นด้วยเทคโนโลยีการออกแบบและผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ (Dental CAD/CAM/CNC) ที่พัฒนาขึ้นภายในประเทศ ซึ่งเป็นการบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลทางทันตกรรม ทำให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีทางการแพทย์และทันตกรรมที่พัฒนาขึ้นในประเทศ ซึ่งจะเป็นการให้บริการทางทันตกรรมในอนาคตด้วยเครื่อง DentiiScan ที่ผลิตได้โดยคนไทย และมีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล

โครงการสนับสนุนและส่งเสริม